การสื่อสารในองค์กร

การสื่อสารในองค์กร

ความหมายของการสื่อสารในองค์กร 
          การสื่อสารในองค์กร หมายถึง กระบวนการในการแลกเปลี่ยนข่าวสารของหน่วยงานกับบุคลากรทุกระดับภายในองค์กร ซึ่งมีความสัมพันธ์กันภายใต้สภาพแวดล้อม บรรยากาศขององค์กรและสังคม ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถาณการณ์

กระบวนการสื่อสาร 
          การสื่อสารให้เป็นระบบแล้ว คงจะช่วยให้เข้าใจการสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย
               – แหล่งข้อมูล คือ แหล่งที่มาของงข้อมูลข่าวสาร หรือเป็นต้นตอของแหล่งข้อมูลข่าวสารนั่นเอง
               – ข่าวสาร คือ เนื้อหาสาระที่ต้องส่งไป
               – ผู้ส่ง คือ บุคคลที่จะเป็นผู้ดำเนินการส่งข่าวสาร
               – ผู้รับ คือ ผู้เป็นเป้าหมายในการรับข่าวสาร ซึ่งถือว่าเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการสื่อสาร

ประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กร 
          สื่อหรือช่องทาง ใช้เพื่อให้ข่าวสารนั้นไหลหรือถูกพาไปยังผู้รับสาร พอจะแบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
               – ประเภทการใช้ภาษา ได้แก่ การพูด คำพูด ซึ่งการใช้ภาษานับว่าเป็นการสื่อสารที่ใช้กันมาก
               – ประเภทไม่ใช้ภาษา ได้แก่ สัญาลักษณ์ การเขียนข้อความ ภาพ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ เป็นต้น
               – ประเภทอาศัยการแสดง/พฤติกรรม

รูปแบบของการสื่อสาร   
          การสื่อสารโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว สามารถแยกรูปแบบออกได้ดังนี้
               – การสื่อสารภายในตัวบุคคล 
               – การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
               – การสื่อสารแบบกลุ่มใหญ่ แบบนี้ไม่มีให้เห็นมากนัก แต่ก็มีบางงานใช้
               – การสื่อสารภายในองค์กร
               – การสื่อสารมวลชน

ลักษณะการสื่อสารในองค์กร
          ลักษณะการสื่อสารในองค์กร โดยทั่ว ๆ ไปจะมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ
               – การสื่อสารระหว่างบุคคล หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างพนักงานต่อพนักงาน หรือระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เป็นต้น
               – การสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร หมายถึง การสื่อสารกันระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร
               – การสื่อสารระหว่างองค์กร หมายถึง การติดต่อที่เกิดขึ้นระหว่างองค์กรต่อองค์กร

มมุษย์สัมพันธ์ในองค์กร

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ (human relations): กล่าวโดยทั่วไป มนุษยสัมพันธ์อาจพิจารณาได้ 2 ระดับ คือ 

          1. ระดับบุคคล : มนุษยสัมพันธ์ หมายถึงความสามารถของบุคคลในอันที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข และผู้อื่นก็ไม่มีความทุกข์ 

          2. ระดับบริหาร : มนุษยสัมพันธ์ คือ ความสามารถในการทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานอย่างเต็มความสามารถ
 
          อย่างไรก็ตาม ถ้านิยามความหมายของมนุษยสัมพันธ์ให้แน่ชัดลงไปก็จะพบว่าผู้ให้นิยามไว้แตกต่างกันอยู่บ้าง Birtha ได้ให้ทรรศนะของมนุษยสัมพันธ์ว่า “เป็นเรื่องพฤติกรรมของแต่ละบุคคลกับการปฏิบัติของสถาบันที่ก่อให้เกิดผลต่อขอบเขต และความสามารถของบุคคล ในการที่จะเข้าใจและได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขาและความสามารถของบุคคล ในการที่จะเข้าใจ และได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับตัวเขาและผู้อื่น อีกทั้งสามารถที่จะใช้ความรู้ความเข้าใจเหล่านั้นไปปฏิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น” 
          พนัส หันนาคินทร์ ให้คำอธิบายว่า “มนุษยสัมพันธ์คือความสามารถที่บุคคลจะถ่ายทอดความรู้สึก หรือความคิดไปยังผู้อื่นและในขณะเดียวกันก็สามารถที่จะเข้าใจความคิดและความรู้สึกของผู้อื่นได้ด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจในกิจการที่บุคคลทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน”

การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ 

          นับตั้งแต่หน่วยงานเล็ก จนถึงหน่วยงานใหญ่ องค์การระดับเล็กจนถึงระดับใหญ่ ย่อมจะให้ความสำคัญต่อมนุษยสัมพันธ์ในองค์การของตนอยู่เสมอ ปัญหามีอยู่ประการเดียวก็คือ การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้นจะเริ่มต้นขึ้นได้อย่างไร เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายนักแต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ยาก จนไม่อาจกระทำได้
          การเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ ควรเป็นเรื่องของทางวิชาการแทนการปล่อยปะละเลยให้เป็นไปโดยธรรมชาติ เป็นเรื่องที่มีแต่ได้กับได้เท่านั้น แต่เนื่องจากผลเสียของการละเลยเรื่องมนุษยสัมพันธ์นี้ไม่ส่งผลชัดเจนขึ้นทันทีทันใด แต่จะค่อย ๆ เสื่อมโทรมและร่วงโรยลงทีละน้อย ๆ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ความเจริญก้าวหน้าทางมนุษยสัมพันธ์ในองค์การเป็นไปอย่างเชื่องช้า เช่นเดียวกับโรคฟัน มักจะปล่อยทิ้งไว้จนถึงระดับหนึ่ง เท่านั้นจึงจะไปรับการรักษาเยียวยาจากทันตแพทย์ 
          แท้ที่จริงแล้วการเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์การ เป็นเรื่องสำคัญยิ่งและสามารถกระทำหรือก่อให้เกิดขึ้นได้ไม่ยากนัก ทั้งนี้โดยการให้ความรู้ความเข้าใจตลอดจนพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ เช่น
          1) การพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจในวิชาจิตวิทยา 
          2) การพัฒนาทางด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 
          3) การเสริมสร้างลักษณะนิสัย และการฝึกปฏิบัติต่าง ๆ เช่น กระบวนการกลุ่มและพฤติกรรมสัมพันธ์ เป็นต้น

Leave a comment